วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ข้อสอบ พันธะเคมี

 แบบทดสอบหลังเรียน

เรื่อง พันธะเคมี

1. พันธะเดี่ยว หมายถึงอะไร

ก. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่
ข. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่
ค. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่
ง. พันธะที่เกิดจากการใช้์อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวร่วมกัน 1 คู่

ตอบ ก. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่

2. 
ธาตุในข้อใด เกิดพันธะโคเวเลนต์กับธาตุคลอรีนได้ดีที่สุด
ก. Na            ข. Ra         ค. C             ง. Cs

ตอบ  ค. C   

3. 
สมบัติทางกายภาพในข้อใด ที่ใช้อธิบายสมบัติทางเคมีของอโลหะ
ก. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมใหญ่ สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
ข. พลังงานไอออไนเซชันต่ำ ขนาดอะตอมใหญ่ อิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ
ค. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
ง. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก อิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง

ตอบ ง. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก อิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง

4. 
ธาตุ Z มีพลังงานไอออไนเซชันตั้งแต่ลำดับที่หนึ่งถึงลำดับที่ 8 เป็นดังนี้ 1.320, 3.395, 5.307, 7.476, 10.996, 13.333, 71.343, 84.086 ธาตุ Z มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่าใด
ก. 1            ข. 4            ค. 6            ง. 7

ตอบ ค. 6 

5. 
ตารางแสดงค่าพลังงานพันธะเฉลี่ยในสารไฮโดรคาร์บอน
ชนิดพันธะ
พลังงานพันธะ
C - H
413
C - C
348
การสลายพันธะโพรเพน (C3H8)  0.5 โมล จะต้องใช้พลังงานมากกว่าหรือน้อยกว่าการสลายพันธะอีเทน (C2H6)  0.5 โมล  เท่าไร
ก. มากกว่า 587 kJ     
ข. น้อยกว่า 283 kJ      
ค. มากกว่า 526 kJ     
ง. น้อยกว่า 278 kJ

ตอบ ค. มากกว่า 526 kJ  

6. 
เหตุใดสารโคเวเลนต์ จึงมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ
ก. สารโคเวเลนต์มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย     
ข. สารโคเวเลนต์มักสลายตัวได้ง่าย
ค. สารโคเวเลนต์ไม่มีประจุไฟฟ้า                                   
ง. สารโคเวเลนต์มักมีโมเลกุลขนาดเล็ก  

ตอบ ก. สารโคเวเลนต์มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย 

7. 
สารละลายที่เกิดจากธาตุหมู่ 1 กับน้ำ มีสมบัติอย่างไร
ก. เป็นกลาง     
ข. เป็นได้ทั้งกรดและเบส      
ค. เป็นกรด       
ง. เป็นเบส

ตอบ ก. เป็นกลาง 

8. 
สาร X เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว สาร Y เป็นโมเลกุลมีขั้ว ส่วนสาร Z เป็นพันธะไม่มีขั้ว ถ้าขนาดของโมเลกุลของ X>Y>Z แล้วสาร X Y และ Z ควรเป็นดังข้อใด
ก. CH2 , NH3 , C6H6      
ข. BeCl2 , CH2Cl2 , S8      
ค. Br2 , H2O , H2      
ง. SiH4 , PCl3 , PCl5

ตอบ 
ง. SiH4 , PCl3 , PCl5 

9. 
กำหนดค่า EN ของธาตุดังนี้ A = 3.0 , B = 2.8 X= 2.7 , Y = 3.7 จงเรียงลำดับความแรงขั้วจากมากไปน้อย
ก. A-B , B-X , X-Y    
ข. A-Y , B-X , A-X     
ค. Y-B , A-Y , A-X    
ง. A-X , B-Y , A-Y

ตอบ ค. Y-B , A-Y , A-X  

10. 
ถ้า A , B และ C เป็นสารโคเวเลนต์ 3 ชนิด โดยทั้ง 3 ชนิดมีสถานะเป็นของเหลว โมเลกุลของสาร Aและ B มีขั้ว ส่วนโมเลกุลของสาร C ไม่มีขั้ว สารใดสามารถละลายน้ำได้
ก. สาร C       
ข. สาร A และ C      
ค. สาร A เเละ B       
ง. สาร B และ C

ตอบ ค. สาร A เเละ B

11. 
จงระบุว่าสารในข้อใดละลายน้ำได้
1) 
แคลเซียมคลอไรด์                 
2แอมโมเนียมซัลเฟต      
3 )เมอร์คิวรี(I)คลอไรด์
4) ไ อร์ออน(III)ไฮดรอกไซด์      
5) โพแทสเซียมฟอสเฟต
ก. 1 2 3       ข. 1 2 5      ค. 2 3 4       ง. 2 3 5

ตอบ  ข. 1 2 5 

12. 
ถ้า A, B ,C ,D เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 7,11,17 และ 20 ตามลำดับ สูตรของไอออนและสารประกอบไอออนิกในข้อใดถูกต้อง 

ข้อ
ไอออนบวก
ไอออนลบ
สูตรสารประกอบไอออนิก
D2+
A3-
D3A2
C3+
B2-
C2B3
B+
A-
BA
A+
C-
AC


ตอบ 
D2+
A3-
D3A2



13. X เป็นสารประกอบของธาตุ Ca และ F มีจุดหลอมเหลวสูง ไม่นำไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้อง และละลายน้ำได้น้อยมาก ข้อสรุปใดต่อไปนี้ ไม่ สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้น
ก. พันธะในสาร X เป็นพันธะไอออนิก           
ข. เมื่อ X ละลายน้ำ จะดูดความร้อน ทำให้ละลายได้น้อย
ค. X มีสูตร CaF2 ผลึกมีความแข็งแรงมากจึงละลายได้ยาก  
ง. สาร X เมื่อหลอมเหลวจะนำไฟฟ้า

ตอบ ข. เมื่อ X ละลายน้ำ จะดูดความร้อน ทำให้ละลายได้น้อย

14. 
เมื่อละลาย KCl ในน้ำเกิดปฏิกิริยาเป็นขั้น ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ดังนี้
1) KCl(s) -----> K+(g) + Cl-(aq)             H1 = 701.2 kJ/mol
2) K+(g) + Cl-(g) -------> K+(aq) + Cl-(aq)  H2 = 684.1 kJ/mol
ปฏิกิริยานี้เป็นแบบใด
ก. คายพลังงานเท่ากับ 1385.3 kJ/mol           
ข. คายพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol
ค. ดูดพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol              
ง. ดูดพลังงานเท่ากับ 1385.3 kJ/mol

ตอบ ค. ดูดพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol

15. 
สาร X , Y , Z มีพลังงานพันธะเป็น 120 , 200 , 90 kJ/mol ตามลำดับ จงเรียงความยาวพันธะจากน้อยไปมาก
ก. X , Y , Z     ข. Z , Y , X      ค. Y , X , Z     ง. Z , X , Y

16. 
ข้อใดกล่าว ไม่ ถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิก  
ก. นำไฟฟ้าได้ทุกสถานะ      
ข. เกิดจากการรวมตัวของไอออนบวกกับไอออนลบ  
ค. จัดเรียงตัวเป็นผลึก           
ง. มีผลรวมของประจุสุทธิ เป็น ศูนย์

ตอบ 
ก. นำไฟฟ้าได้ทุกสถานะ

17. 
พันธะเคมี หมายถึง อะไร   
ก. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม          ข. พลังงานที่ทำให้อะตอมสลายตัว    
ค. การอยู่รวมกันของอะตอม            ง. การอยู่รวมกันของโมเลกุล

ตอบ ก. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม 

18. 
กำหนดการจัดอิเล็กตรอนของธาตุให้ ดังนี้  
A   2,8,2     B   2,8,8,1     C  2,8,7      D  2,8,18, 8 ธาตุคู่ใดมีการเกิดเป็นสารประกอบไอออนิกได้                                     
ก.   A  กับ  D          
ข.   C  กับ  D         
ค.   B  กับ  C           
ง.   B  กับ  D

ตอบ ค.   B  กับ  C

19. เพราะเหตุใด อโลหะจึงยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
ก. อโลหะมีค่า EN สูงเสียอิเล็กตรอนยาก          
ข. อโลหะมีค่า EN สูงเสียอิเล็กตรอนง่าย
ค. อโลหะมีค่า EN ต่ำเสียอิเล็กตรอนยาก          
ง. อโลหะมีค่า EN ต่ำเสียอิเล็กตรอนง่าย

ตอบ ก. อโลหะมีค่า EN สูงเสียอิเล็กตรอนยาก 

20. ธาตุที่เกิดพันธะไอออนิกกับออกซิเจนได้ดีที่สุด คือ ข้อใด
ก. กำมะถัน       ข. คลอรีน        ค. ดีบุก        

ตอบ  ง. โซเดียม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข้อสอบ พันธะเคมี

  แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง พันธะเคมี 1.  พันธะเดี่ยว หมายถึงอะไร ก. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน  1  คู่ ข. พันธะที่เกิดจาก...